ระเบียบการยืม-คืนหนังสือ

1. ต้องมีบัตรประจำตัวนักเรียน

2. ทุกครั้งที่ยืม-คืนหนังสือ ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง และนำบัตรประจำตัวนักเรียนมาด้วยทุกครั้ง

ไม่อนุญาตให้ใช้บัตรผู้อื่น

3. สิทธ์ในการยืม-คืน หนังสือ

     ครู ครั้งละ 5  เล่ม นาน 14 วัน

     พนักงานโรงเรียน / ครั้งละ 3 เล่ม นาน 7 วัน

     นักเรียน ครั้งละ 3  เล่ม นาน 7 วัน

4. ผู้ยืมหนังสือจะต้องรับผิดชอบหนังสือที่ยืมไป

5. ถ้าอ่านหนังสือไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด สามารถยืมต่อได้อีก ไม่เกิน 2 ครั้ง และจะต้องนำหนังสือมาด้วย

6. การคืนหนังสือในกรณีที่ส่งเกินกำหนด ต้องชำระค่าปรับ วันละ 1 บาท ( นับเสาร์ อาทิตย์)

7. ห้าม ตัด พับ หน้าหนังสือ หรือขีดเขียนลงบนหนังสือของห้องสมุดเด็ดขาด

( ถ้าพบจะปรับ 3 เท่า ของราคาหนังสือ และงดบริการ 1 ภาคเรียน)

มารยาทในการใช้ห้องสมุด

1. วางหนังสือของที่ไม่จำเป็นไว้ที่ชั้นวางของข้างห้องสมุด

2. ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มหรือ ของขบเคี้ยวเข้าห้องสมุด

3. ไม่ก่อความรำคาญ หรือส่งเสียงดังในห้องสมุดเพราะเป็นการรบกวนสมาธิผู้อื่น

4. การหยิบหรือจับหนังสือจากชั้นวางหนังสือ ควรจับตรงกลางสันของหนังสือ

5. เมื่อลุกจากโต๊ะอ่านหนังสือควรตรวจสิ่งของ และเก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อย

6. การยืมและคืนหนังสือ ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ

7. ก่อนออกจากห้องสมุด ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสิ่งของทุกค

วัสดุห้องสมุดที่มีไว้บริการสมาชิก

1. หนังสือทั่วไป จะเรียงไว้ตามหมวดหมู่ แยกเป็นภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ นวนิยาย เรื่องสั้นจะจัดเรียงไว้ต่างหากใช้สัญญลักษณ์ “” ที่สันหนังสือ

2. หนังสืออ้างอิง (Reference Book) คือ หนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า หรือตอบ คำถามต่างๆ โดยใช้เฉพาะตอนใด ตอนหนึ่ง มีสัญญลักษณ์ “” หรือ “R” อยู่เหนือเลขหมู่ ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด

3. หนังสืออ่านสำหรับเยาวชน(Easy Book) มีสัญญลักษณ์ “” (เยาวชน) หรือ “E” ที่สันหนังสือ

4. หนังสือจอง (Reserved Book) คือ หนังสือประกอบการเรียนที่คุณครูแต่ละ วิชาจองไว้เป็นกรณีพิเศษสำหรับวิชานั้น

5. หนังสือพิมพ์ (Newspaper) คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่ออกเป็นรายวันให้อ่านเฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น

6. วารสาร (Periodicals) คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนด ระยะเวลาออก ไม่อนุญาตให้ยืม ยกเว้นวารสารล่วงเวลา

7. จุลสาร (Pamphletes) คือ สิ่งพิมพ์เล็กๆ มีความยาวไม่เกิน 60 หน้า ให้ความรู้และ มีคุณค่าอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

8. กฤตภาค (Clipping) คือ เรื่องที่สำคัญที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ หรือวารสาร แล้วนำมา ตัดเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า